(=^ェ^=)/ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวแสงระวี ทรงไตรย์ ค่ะ (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  14  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  2  กลุ่มเรียน  102 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

        ในการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์ ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget การอนุรักษ์ หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์
        ระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การวัด เรขาคณิต พีชคณิต หรือรูปแบบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   1.  เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
   2.  ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
   3.  เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
   4.  เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget
   1.  ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor) แรกเกิด – 2 ปี
   2.  ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational) อายุ 2  7 ปี

การอนุรักษ์
        เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
            -  โดยการนับ
            -  การจับคู่หนึ่งต่อเนื่อง
            -  การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
            -  เรียงลำดับ
            -  จัดกลุ่ม            

กิจกรรมในวันนี้
        อาจารย์ในนักศึกษาทุกคนวาดรูปสัตว์ที่มีจำนวนขาเยอะที่สุด พร้อมละบายสีให้สวยงามตามใจชอบ  จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษสีให้นักศึกษาตัดกระดาษเป็นรองเท้าไปสวมให้สัตว์ที่เราวาดทุกขา ยิ่งวาดสัตว์ที่มีจำนวนขาเยอะก็ต้องตัดขาเยอะเท่าจำนวนขาของสัตว์ที่เราวาด








ความรู้และการนำไปใช้
        ได้รู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้เรานำความรู้ที่ได้ศึกษามาปรับใช้ประโยชน์ในอนาคต ทั้งทางด้านตนเองและลูกศิษย์ของเราในวันข้างหน้า ให้เราได้เข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงไว้มากขึ้น








                                     






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น