(=^ェ^=)/ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวแสงระวี ทรงไตรย์ ค่ะ (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4



 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  28  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  4  กลุ่มเรียน  102 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

       วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับ เรื่องของสาระและมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในหัวข้อดังนี้ ได้แก่ 
       1. จำนวนและการดำเนินการ
       2. การวัด
       3. พีชคณิต
       4. เรขาคณิต
       5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ
สาระสำคัญ
       จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ หรือสัญลักษณ์
       การดำเนินการ หมายถึง การกระทำ หรือลำดับขั้นตอน ที่สร้างค่าใหม่ ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ 
       จำนวน และการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึก เชิงจำนวน
คุณภาพ ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 3-5 ปี
       - มีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวน
       - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณและเวลาสามารถเปรียบเทียบได้ 
       - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง และแสดงของสิ่งต่างๆ   
       - มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน   
       - มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล














การนำไปใช้
       สามารถนำไปฝึกสอนเด็กให้เด็กบวกเลขเป็น โดยการนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาประยุกต์ใช้ในการสอนการนับ เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด
สาระสำคัญ
       การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย



การนำไปใช้
       ครูสามารถนำการวัดไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเล่านิทาน โดยการนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาเล่าเป็นนิทานให้สอดคล้องกับการวัดของเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็ก มีการตอบคำถามของครูผู้สอน และความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กลุ่มที่ 3 เรื่อง พีชคณิต
สาระสำคัญ
       พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง




การนำไปใช้
       ครูสามารถจัดกิจกรรมในห้อง โดยการใช้ลูกเต๋า 2 สี สีละ 4 ชิ้น มารวมกัน แล้วให้เด็กนั้นมีส่วนร่วมในการคิดร่วมกันกับเพื่อน เด็กอาจแยกเป็นดังรูปตัวอย่างก็ได้เช่นกัน
       ครูอาจจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วแจกรูปภาพไก่ให้เด็ก แต่ละภาพตัวจะไม่เท่ากัน เด็กบางกลุ่มอาจจะเรียงจากสูงไปหาเตี้ย หรือ เตี้ยไปหาสูง ก็เป็นไปได้


กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรขาคณิต
สาระสำคัญ
       การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง
ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้ 
ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว  
พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น บล็อกรูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม
       ครูสามารถให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้ โดยต้องอธิบายถึงรูปทรงต่างๆว่าแต่ละรูปทรงเป็นอย่างไร เพื่อให้เด็กรู้ถึงรูปทรงเรขาคณิต การจัดกิจกรรมโดยให้ครูตัดกระดาษสีให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต สีต่างๆ แล้วแบ่งกลุ่มแจกกระดาษสีที่ตัดเตรียมไว้แล้วใส่ในตะกร้าให้เด็กทุกกลุ่ม แล้วให้





การนำไปใช้เด็กทากาวที่กระดาษนำมาติดลงบนกระดาษเปล่าที่ครูเตรียมไว้ให้ เพื่อให้เด็กมีจินตนาการและคิดริเริ่มสร้างสรรค์


กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าเป็น
สาระสำคัญ
       การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแต่งต่างออกไป ต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ เป็นต้น







                                                                             

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3



 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันที่  21  เดือนพฤศจิกายน  2556

ครั้งที่  3  กลุ่มเรียน  102 (วันพฤหัสบดีเช้า)

เวลา  08.30 - 12.20 น.


        ในการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย โดยจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง จำนวนห้า จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ ทักษะการสอนทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ ดังนี้

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
        พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
        ให้เด็กรู้จักและใช้ขบวนการหาคำตอบ
        ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
        ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
        ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        การสังเกต (Opservation)
        การจำแนกประสาท  (Classifying)
        การเปรียบเทียบ  (Comparing)
        การจัดลำดับ  (Ordering)
        การจัด  (Measurement)
        การนับ  (Counting)
        รูปทรงและขนาด  (Sharp and Size)
                   
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
        ตัวเลข  -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
        ขนาด  -  ใหญ่  คล้าย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
        รูปร่าง  -  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า  แถว
        ที่ตั้ง  -  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง  ระหว่าง
        ค่าความเร็ว  -  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท
        อุณหภูมิ  -  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด

กิจกรรมในวันนี้

        อาจารย์แจกกระดาษ A4 มาหนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาวาดรูปวงกลมหนึ่งลูกขนาดประมาณลูกปิงปอง จากนั้นให้นักศึกษาเขียนจำนวนตัวเลขที่นักศึกษาชอบเพียงตัวเดียว ตัวเลขตั้งแต่ 1-10 ดิฉันเขียน 9 เขียนลงไปตรงกลางวงกลม จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้กระดาษสีมาคนละหนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาตัดกลีบดอกไม้ตามจำนวนที่ตัวเขียนลงไป พร้อมตกแต่งดอกไม้ของตนเองออกมาได้สวยงาม




ความรู้และการนำไปใช้
        การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเราจะไม่คำนึงความผิดหรือความถูก แต่เราจะฝึกให้เด็กคิด กล้าคิดกล้าปฏิบัติ ให้เด็กเรียนแล้วมีความสุข  





                                         





วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  14  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  2  กลุ่มเรียน  102 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

        ในการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์ ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget การอนุรักษ์ หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์
        ระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การวัด เรขาคณิต พีชคณิต หรือรูปแบบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   1.  เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
   2.  ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
   3.  เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
   4.  เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  Piaget
   1.  ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor) แรกเกิด – 2 ปี
   2.  ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational) อายุ 2  7 ปี

การอนุรักษ์
        เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
            -  โดยการนับ
            -  การจับคู่หนึ่งต่อเนื่อง
            -  การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
            -  เรียงลำดับ
            -  จัดกลุ่ม            

กิจกรรมในวันนี้
        อาจารย์ในนักศึกษาทุกคนวาดรูปสัตว์ที่มีจำนวนขาเยอะที่สุด พร้อมละบายสีให้สวยงามตามใจชอบ  จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษสีให้นักศึกษาตัดกระดาษเป็นรองเท้าไปสวมให้สัตว์ที่เราวาดทุกขา ยิ่งวาดสัตว์ที่มีจำนวนขาเยอะก็ต้องตัดขาเยอะเท่าจำนวนขาของสัตว์ที่เราวาด








ความรู้และการนำไปใช้
        ได้รู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้เรานำความรู้ที่ได้ศึกษามาปรับใช้ประโยชน์ในอนาคต ทั้งทางด้านตนเองและลูกศิษย์ของเราในวันข้างหน้า ให้เราได้เข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงไว้มากขึ้น








                                     






วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1




บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันที่  7  เดือนพฤศจิกายน  2556

ครั้งที่  1  กลุ่มเรียน  102 (วันพฤหัสบดีเช้า)

เวลา  08.30 - 12.20 น.


            ในการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงในเรื่อง Course Syllabus เกี่ยวกับแนวการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบายรายวิชาเกี่ยวกับการศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และมีข้อตกลงเกี่ยวการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

-       ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง

-       มาเรียนเกินเวลา 15 นาที จะถือว่าสาย

-       ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 % ของเวลาเรียนทั้งหมด

-       ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในเวลาเรียน

-       งานที่มอบหมาย ต้องส่งตรงตามเวลากำหนด

-       งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด

-       ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาครูปฐมวัยที่ดี





กิจกรรมในวันนี้


            ให้นักศึกษาทำ Mind Map โดยทำจากความรู้ที่เคยเรียนมา โดยทำจากหัวข้อ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งผลงานของแต่ละคนจะออกมาไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของแต่ละบุคคลและความรู้เดิมของตนเอง







ความรู้และการนำไปใช้            
            ได้คิด วิเคราะห์ทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมาทั้งหมดมาใช้ในการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย