(=^ェ^=)/ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวแสงระวี ทรงไตรย์ ค่ะ (=^ェ^=)
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วันที่  19  เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่  7  กลุ่มเรียน  102  (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 – 12.20 น.



* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอนกลางภาค






วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วันที่  12  เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่  6  กลุ่มเรียน  102  (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 – 12.20 น.

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-          - ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นปฐมศึกษา

สาระการเรียนรู้
-          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
-          สาระที่ 2 : การวัด
-          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
-          สาระที่ 4 : พีชคณิต
-          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-          สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. มีความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)
       -      จำนวนนับ 1 ถึง 20
       -      เข้าใจหลักการนับ
       -      รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและอักษรไทย
       -      รู้ค่าของจำนวน
       -      เปรียบเทียบและเรียงลำดับได้
       -      การรวบรวมและการแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงิน และ เวลา
       -      เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
       -      รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
       -      เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
       -      ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
       -      รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-        -  การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
-        - การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
-        -  การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-        -  การเปรียบเทียบจำนวน
-        -  การเรียงลำดับจำนวน

การรวบรวมข้อมูล และการแยกกลุ่ม
-        -  ความหมายของการรวบรวม
-        -  การรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
-        -  ความหมายของการแยก
-          การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
เช่น


                 
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
-        -  การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
-        -  การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-        -  การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง

เช่น

       
เงิน
-        -  ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร

เวลา
-        -  ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-        -  ชื่อวันในสัปดาห์และ คำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-          การบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ

รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
-        -  ทรงกลม ทรงสีเหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-        -  รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-        -  การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-        -  การสร้างสรรค์คืองานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติ และสองมิติ

รูปเรขาคณิตสามมิติ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม ทรงกระบอก และทรงกรวย


รูปเรขาคณิตสองมิติ



รูปเรขาคณิตสองมิติพับครึ่งพับ



เมื่อให้เด็กเห็นภาพเด็กต้องรู้จักแยกได้ว่ามีรูปอะไรมาต่อกัน


เมื่อเด็กสามารถบอกได้ว่าที่ซ้อนทับกันอยู่มีกี่รูปอะไรบ้าง


สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

แบบรูป และ ความสัมพันธ์
-       -   แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น



สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-          การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

กิจกรรม
      วันนี้อาจารย์แจกกระดาษ A4 แล้วให้นักศึกษาเลือกแบบที่อาจารย์เตรียมให้มีรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม ให้นักศึกษาเลือกมาคนละ 1 แบบ แล้วทาบลงกระดาษสีที่ต้องการ แล้วตัดตามรอยทาบ ทากาวแล้วนำไปแปะลงกระดาษ A4 ตกแต่งให้เป็นรูปสัตว์ที่สวยงาม




ความรู้และการนำไปใช้

      จากการเรียน และการทำกิจกรรมในวันนี้ ได้ความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต และการประดิษฐ์สื่อการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องรูปทรงเรขาคณิต และยังสามารถนำไปต่อยอดในการประดิษฐ์สื่อต่าง ๆ ได้ในอีกทางหนึ่งด้วย







                                                                  






วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วันที่  5  เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่  5  กลุ่มเรียน  102  (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 – 12.20 น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน หยุดเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ







 


                                                                 




วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4



 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่  28  เดือนพฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  4  กลุ่มเรียน  102 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30 - 12.20 น.

       วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับ เรื่องของสาระและมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในหัวข้อดังนี้ ได้แก่ 
       1. จำนวนและการดำเนินการ
       2. การวัด
       3. พีชคณิต
       4. เรขาคณิต
       5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ
สาระสำคัญ
       จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ หรือสัญลักษณ์
       การดำเนินการ หมายถึง การกระทำ หรือลำดับขั้นตอน ที่สร้างค่าใหม่ ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ 
       จำนวน และการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึก เชิงจำนวน
คุณภาพ ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 3-5 ปี
       - มีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวน
       - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณและเวลาสามารถเปรียบเทียบได้ 
       - มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง และแสดงของสิ่งต่างๆ   
       - มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน   
       - มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล














การนำไปใช้
       สามารถนำไปฝึกสอนเด็กให้เด็กบวกเลขเป็น โดยการนำสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาประยุกต์ใช้ในการสอนการนับ เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด
สาระสำคัญ
       การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย



การนำไปใช้
       ครูสามารถนำการวัดไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเล่านิทาน โดยการนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาเล่าเป็นนิทานให้สอดคล้องกับการวัดของเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็ก มีการตอบคำถามของครูผู้สอน และความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กลุ่มที่ 3 เรื่อง พีชคณิต
สาระสำคัญ
       พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง




การนำไปใช้
       ครูสามารถจัดกิจกรรมในห้อง โดยการใช้ลูกเต๋า 2 สี สีละ 4 ชิ้น มารวมกัน แล้วให้เด็กนั้นมีส่วนร่วมในการคิดร่วมกันกับเพื่อน เด็กอาจแยกเป็นดังรูปตัวอย่างก็ได้เช่นกัน
       ครูอาจจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้เด็กนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วแจกรูปภาพไก่ให้เด็ก แต่ละภาพตัวจะไม่เท่ากัน เด็กบางกลุ่มอาจจะเรียงจากสูงไปหาเตี้ย หรือ เตี้ยไปหาสูง ก็เป็นไปได้


กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรขาคณิต
สาระสำคัญ
       การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง
ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้ 
ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว  
พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น บล็อกรูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม
       ครูสามารถให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้ โดยต้องอธิบายถึงรูปทรงต่างๆว่าแต่ละรูปทรงเป็นอย่างไร เพื่อให้เด็กรู้ถึงรูปทรงเรขาคณิต การจัดกิจกรรมโดยให้ครูตัดกระดาษสีให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต สีต่างๆ แล้วแบ่งกลุ่มแจกกระดาษสีที่ตัดเตรียมไว้แล้วใส่ในตะกร้าให้เด็กทุกกลุ่ม แล้วให้





การนำไปใช้เด็กทากาวที่กระดาษนำมาติดลงบนกระดาษเปล่าที่ครูเตรียมไว้ให้ เพื่อให้เด็กมีจินตนาการและคิดริเริ่มสร้างสรรค์


กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าเป็น
สาระสำคัญ
       การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแต่งต่างออกไป ต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ เป็นต้น