บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ
แจ่มถิ่น
วันที่ 12
เดือนธันวาคม 2556
ครั้งที่ 6
กลุ่มเรียน 102 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา 08.30 – 12.20 น.
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
- - ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นปฐมศึกษา
สาระการเรียนรู้
-
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
-
สาระที่ 2 : การวัด
-
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
-
สาระที่ 4 : พีชคณิต
-
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical
Thinking)
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
-
เข้าใจหลักการนับ
-
รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและอักษรไทย
-
รู้ค่าของจำนวน
-
เปรียบเทียบและเรียงลำดับได้
- การรวบรวมและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว
น้ำหนัก ปริมาณ เงิน และ เวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.
มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.
มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6.
มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
๐ มาตรฐาน ค.ป.1.1
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
- - การใช้จำนวนบอก
ปริมาณที่ได้จากการนับ
- - การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
- - การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
- - การเปรียบเทียบจำนวน
- - การเรียงลำดับจำนวน
การรวบรวมข้อมูล และการแยกกลุ่ม
- - ความหมายของการรวบรวม
- - การรวมสิ่งต่าง ๆ
สองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
- - ความหมายของการแยก
-
การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน
10
เช่น
สาระที่ 2 : การวัด
๐ มาตรฐาน ค.ป.2.1
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
- - การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
- - การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- - การเปรียบเทียบปริมาตร /
การตวง
เช่น
เงิน
- - ชนิดและค่าของเงิน
เหรียญและธนบัตร
เวลา
- - ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- - ชื่อวันในสัปดาห์และ คำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
๐ มาตรฐาน ค.ป.3.1
รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
๐ มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต
และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-
การบอกตำแหน่ง ทิศทาง
ระยะทางของสิ่งต่างๆ
รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- - ทรงกลม ทรงสีเหลี่ยมมุมฉาก
กรวย ทรงกระบอก
- - รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- - การเปลี่ยนแปลง
รูปเรขาคณิตสองมิติ
- - การสร้างสรรค์คืองานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติ
และสองมิติ
รูปเรขาคณิตสามมิติ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม ทรงกระบอก และทรงกรวย
รูปเรขาคณิตสองมิติ
รูปเรขาคณิตสองมิติพับครึ่งพับ
เมื่อให้เด็กเห็นภาพเด็กต้องรู้จักแยกได้ว่ามีรูปอะไรมาต่อกัน
เมื่อเด็กสามารถบอกได้ว่าที่ซ้อนทับกันอยู่มีกี่รูปอะไรบ้าง
สาระที่ 4 : พีชคณิต
๐ มาตรฐาน ค.ป.4.1
เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูป และ ความสัมพันธ์
- - แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง
ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
๐ มาตรฐาน ค.ป.5.1
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-
การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
๐ การแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
กิจกรรม
วันนี้อาจารย์แจกกระดาษ A4 แล้วให้นักศึกษาเลือกแบบที่อาจารย์เตรียมให้มีรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม
ให้นักศึกษาเลือกมาคนละ 1 แบบ แล้วทาบลงกระดาษสีที่ต้องการ แล้วตัดตามรอยทาบ
ทากาวแล้วนำไปแปะลงกระดาษ A4 ตกแต่งให้เป็นรูปสัตว์ที่สวยงาม
ความรู้และการนำไปใช้
จากการเรียน และการทำกิจกรรมในวันนี้
ได้ความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต
และการประดิษฐ์สื่อการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องรูปทรงเรขาคณิต
และยังสามารถนำไปต่อยอดในการประดิษฐ์สื่อต่าง ๆ ได้ในอีกทางหนึ่งด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น